เรื่องเด่น อวิชชา แห่งการหยุดคิด หยุดนึก / หลวงปู่ดูลย์

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 7 กุมภาพันธ์ 2023.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,719
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,138
    ค่าพลัง:
    +70,534
    vShYgEevsfVjgCICIRSRVGkjzS9Ls9Mwl8jeC5evBQnN&_nc_ohc=22BLYrJebnQAX-1YM5E&_nc_ht=scontent.fbkk2-7.jpg



    มีผู้เรียนถามถึงเรื่องหยุดคิด หยุดนึก กับหลวงปู่ดูลย์

    หลวงปู่บอกว่า

    "ก็แสดงถึงความผิดพลาดอยู่แล้ว เพราะบอกให้หยุดคิดหยุดนึก ก็กลับไปคิดที่จะหยุดคิดนั่นเสียอีกเล่า แล้วอาการหยุดจักอุบัติขึ้นได้อย่างไร จงกําจัดอวิชชาแห่งการหยุดคิดหยุดนึกเสียให้สิ้นเลิกล้มความคิดที่จะหยุดคิดเสียก็สิ้นเรื่อง"

    ----------------------------------
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,719
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,138
    ค่าพลัง:
    +70,534
    "อุบายในการหยุดคิด"

    วันหนึ่งมีคนนำคำสอนของหลวงปู่ดูลย์มาถามท่านว่ายทวนน้ำว่า

    โยม : หลวงปู่ดูลย์ท่านสอนว่า "คิดเท่าไหร่ก็ไม่รู้ ต่อเมื่อหยุดคิดจึงได้รู้ แต่ต้องอาศัยความคิดนั่นแหละจึงรู้" หมายความว่าอย่างไรครับ?

    ว่ายทวนน้ำ : คำว่า "รู้" ที่หลวงปู่ดูลย์พูดในที่นี้นี้ตรงกับคำว่า "ว่าง" ให้ใช้คำว่าว่างแทนค่าลงไป

    โยม : พอแทนค่าลงไปแล้วจะได้ประโยคว่า "คิดเท่าไหร่ก็ไม่ว่าง ต่อเมื่อหยุดคิดจึงว่าง แต่ต้องอาศัยความคิดนั่นแหละจึงว่าง" ก็ยังไม่เข้าใจอยู่ดีครับ?

    ว่ายทวนน้ำ : การ "หยุดคิด" นั้นบางครั้งต้องอาศัยความคิด จะเรียกว่า "ข้อคิดเพื่อหยุดคิด" ก็ได้ มันคือการใช้ความคิดเพื่อพิจารณาให้เห็นทุกข์เห็นโทษหรือให้เห็นความจริงของเรื่องนั้น

    โยม : ยังไงบ้างครับ?

    ว่ายทวนน้ำ : การพิจารณาให้เห็นทุกข์เห็นโทษ เช่น ถ้าโยมรู้ว่ายาขวดนี้เป็นยาพิษโยมจะกินไหม?

    โยม : ไม่กินครับ

    ว่ายทวนน้ำ : ทำไมถึงไม่กิน?

    โยม : ก็ผมรู้ว่ากินแล้วตายผมก็ถึงไม่กิน

    ว่ายทวนน้ำ : นี่เท่ากับโยม "หยุดคิดเรื่องกินยาพิษขวดนี้" ได้แล้ว ความคิดที่โยมจะหยิบยาขวดนี้มากินจะดับไปจากหัวโยมเลย การที่ความคิดในการไปกินยาขวดนี้ดับไปเพราะโยมใช้ความคิดพิจารณามันจนเห็นทุกข์เห็นโทษของมันอย่างแท้จริงแล้วโยมถึงไม่กิน

    เมื่อโยม "หยุดคิดในเรื่องใดได้ก็จะว่างจากเรื่องนั้น" ตอนนี้โยมว่างจากการหยิบยาขวดนี้มากินแล้ว ที่ว่างก็เพราะโยมหมดสิ้นความคิดที่จะกระทำ เห็นไหมว่าการทำให้ไม่คิดหรือหยุดคิดนั้นบางทีต้องอาศัยความคิดพิจารณามันให้เห็นทุกข์เห็นโทษแล้วจะเกิดการหยุดคิดตามมา

    "การหยุดคิดนี่แหละคือสติ สติกับการหยุดคิดมีความหมายเดียวกัน ใช้แทนค่ากันได้" ตอนนี้โยมมีสติในเรื่องการไม่หยิบยาขวดนี้มากินตลอดไป ถามว่าเมื่อโยมรู้แล้วว่ามันคือยาพิษโยมยังต้องมานั่งบริกรรมไหมว่า "ฉันต้องไม่หยิบยาขวดนี้มากินๆๆ"?

    โยม : ไม่ต้องมานั่งกำหนดจิตบริกรรมว่าจะไม่กินมันแล้วครับ

    ว่ายทวนน้ำ : ใช่ เพราะโยมรู้แล้วไง โยมเห็นทุกข์เห็นโทษของมันแล้ว รู้ความจริงของมันแล้ว เรื่องนี้มันจึงถูกติดตั้งเป็นสติในตัวโยมตลอดไปแล้วว่าจะไม่หยิบยาขวดนี้มากิน เรื่องใดก็ตามที่เป็นสติถาวรตลอดไปแล้วก็จบไปเลยในเรื่องนั้น หมดสิ้นความคิดเกี่ยวกับเรื่องนั้นตลอดไป

    ในสมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าก็ใช้วิธีนี้ในการติดตั้งสติหรือการหยุดคิดในเรื่องนั้นเรื่องนี้ให้แก่สาวกของท่าน ท่านจะดูว่าคนไหนยังต้องแก้ตรงไหน ท่านก็จะไปให้ "ข้อคิดเพื่อหยุดคิด" เพื่อทำให้เขามีสติในเรื่องนั้น ท่านจะติดตั้งสติหรือการหยุดคิดในเรื่องนั้นเรื่องนี้ไปเรื่อย ๆ จนสมบูรณ์ ยิ่งหยุดคิดหรือติดตั้งสติในเรื่องนั้นเรื่องนี้ได้มากเท่าไหร่จิตก็ว่างมากขึ้นเท่านั้น ทำให้ปราศจากความคิด ความวิตกกังวล ความวุ่นวายจากสิ่งต่าง ๆ มันก็กลับสู่ความว่างไปเรื่อย ๆ เอง สังเกตสิเวลาท่านสอนท่านไม่ได้สอนอะไรมากเลย ไม่มีวิธีปฏิบัติอะไรที่ยุ่งยากวุ่นวายเหมือนที่ยุคหลังประดิษฐ์ประดอยกันขึ้นมา ท่านแค่คอยจับผิดคอยขนาบสาวกของท่านให้หยุดคิดในเรื่องนั้นเรื่องนี้ไปเรื่อย ๆ เหมือนช่างปั้นหม้อที่คอยปั้นหม้อใบหนึ่งขึ้นมาให้เป็นหม้อที่สมบูรณ์

    โยม : ดูมันง่ายมากเลยนะครับ เป็นวิธีการที่ดูไม่มีอภินิหารอะไรเลย ไม่ต้องใช้ฤทธิ์อะไรเลย

    ว่ายทวนน้ำ : การภาวนาจริง ๆ แล้วถ้าโยมจับหลักได้นะเป็นเรื่องง่ายมาก มันไม่มีหลักการอะไรที่ยุ่งยากเลย ไม่จำเป็นต้องได้ฌานขั้นนั้นขั้นนี้ด้วย แต่ต้องใช้การพิจารณาหาข้อเสียของตนเองให้มากที่สุด "ให้พิจารณาว่าตอนนี้เรากำลังบ้ากับสิ่งใดอยู่ เรายึด เราหลง สิ่งใดอยู่" เมื่อเห็นข้อเสียของตนเองแล้วจึงลงมือแก้ไขปรับปรุงข้อเสียของตนเองจนหยุดคิดในเรื่องนั้นเรื่องนี้ไปเรื่อย ๆ ใหม่ ๆ ต้องใช้ความอดทน ต้องฝืนใจตัวเองบ้าง แต่พอผ่านจุดนั้นไปได้แล้วโยมจะได้ความเคยชินใหม่ในการหยุดคิดมา เช่น ตอนแรกโยมกินข้าวสามมื้อ โยมก็ลองฝืนใจไม่กินมื้อเย็น ค่อย ๆ ปรับลดปริมาณมื้อมา มื้อนี้เกินจำเป็นนะ มื้อนี้แม้ไม่กินร่างกายก็อยู่ได้นะ ใหม่ ๆ ก็จะหิวหน่อย สักพักร่างกายจะปรับได้ ต่อไปความคิดเรื่องกินเกินจำเป็นจะลดลงดับลง จากที่เมื่อก่อนจิตไม่ว่างเพราะคิดว่ามื้อเย็นจะกินอะไร พอหยุดกินมื้อเย็นได้ความว่างในส่วนนี้ก็กลับมา เพราะมันหยุดคิดในเรื่องการแสวงหาในการกินมื้อเย็นแล้ว ให้เริ่มแก้ไขจากเรื่องกิเลสหยาบ ๆ ไปก่อน เป็นการตีกรอบให้ตัวเอง จำกัดกรอบความคิดที่เกินจำเป็นแก่การดำรงชีวิตอยู่

    แต่วิธีการติดตั้งสติหรือการหยุดคิดได้เร็วที่สุดคือโยมต้องหาครูบาอาจารย์ที่ท่านสามารถมาจับผิดโยมได้ กิเลสหยาบ ๆ โยมอาจจะแก้ไขเองได้ แต่กิเลสขั้นละเอียดโยมต้องอาศัยครูบาอาจารย์ที่เป็นผู้รู้ที่แท้จริง เพราะลำพังกำลังของโยมเองจะแก้กิเลสตัวละเอียดไม่ได้ ต้องใช้ความละเอียดของครูบาอาจารย์ในการจับผิด เว้นเสียแต่โยมจะเป็นพระพุทธเจ้าหรือปัจเจกพระพุทธเจ้าเท่านั้นที่จะบรรลุธรรมขั้นสูงสุดได้โดยไม่ต้องอาศัยครูบาอาจารย์

    โยม : ที่พระอาจารย์บอกว่าให้เริ่มจากเรื่องหยาบ ๆ ก่อน เรื่องหยาบ ๆ ที่ว่านี้เช่นอะไรบ้างครับ?

    ว่ายทวนน้ำ : ลองใช้เรื่องศีล 5 ศีล 8 มาเป็นแนวทางในการตีกรอบกิเลสตัวเองดูก็ได้

    อย่างศีล 5 นั้นเป็น "แนวทางการหยุดคิดที่จะไปก่อกรรมจากการเบียดเบียนผู้อื่น" ในเรื่องนี้ให้โยมเข้าใจทุกข์โทษของมันว่าถ้าโยมทำให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อนนั้นวิบากกรรมจะตกได้แก่โยมทั้งสิ้นในภายหน้า อย่างเรื่องฆ่าสัตว์นี่ถ้าโยมเห็นโทษของการกระทำดังกล่าว กลัวบาปให้มาก มันจะหยุดคิดในเรื่องฆ่าสัตว์ไปเลย ต่อไปไม่ว่าเห็นสัตว์เล็กสัตว์น้อยแค่ไหนความคิดที่จะฆ่ามันก็จะไม่มีอีกเลย มันก็หยุดคิดได้อีกเรื่องนึง ต่อไปก็พิจารณาเพื่อหยุดคิดในเรื่องอื่นต่อ

    ส่วนศีล 8 นั้นเป็น "แนวทางในการหยุดคิดที่จะสนองกิเลสส่วนเกินในการดำรงชีวิต" ศีลข้อ 6 7 8 หรือข้อ 3 ที่เพิ่มเติมเป็นอพรัมมจริยา นั้นเป็นเรื่องที่ว่าถึงแม้ไม่ทำร่างกายก็อยู่ได้ อย่างเรื่องบ้าแต่งตัวที่เกินจำเป็น ก็ลองพิจารณาดูสิว่าทุกวันนี้เราแต่งตัวโชว์คนอื่นมันได้อะไรบ้าง เดี๋ยวเสื้อสีใหม่ดีไซน์ใหม่ออกก็ต้องตามซื้อมันไม่จบไม่สิ้น ฟุ่มเฟือย วุ่นวาย พิจารณาข้อเสียของมันให้มาก พอหยุดคิดเรื่องบ้าแต่งตัวได้ต่อไปไม่ว่าเห็นเสื้อใหม่สวยแค่ไหน สีนี้ยังไม่มี เราก็จะไม่มีความคิดไปสนใจหรือไปซื้อมันแล้ว มันไม่มีค่าไม่มีหมายต่อเราอีกต่อไป ความคิดเรื่องบ้าแต่งตัวก็ดับไปอีกเรื่อง เราก็เช็คบิลความคิดไปได้อีกเรื่อง ให้เช็คบิลความคิดให้ขาดไปทีละเรื่อง เจตนารมณ์ของศีล 5 ศีล 8 ก็มุ่งหวังในเพื่อให้คนเกิดการหยุดคิดในเรื่องต่าง ๆ

    สำหรับคนที่ยังอยู่ทางโลกและไม่มีครูบาอาจารย์เอาแค่แก้พฤติกรรมของตัวเองให้อยู่ในแนวของศีล 5 ศีล 8 ได้อย่างสมบูรณ์นี่ก็ถือว่าเก่งแล้ว โยมลองคิดดูว่ามีสักกี่คนที่ทำได้? ยังไม่ต้องไปมองถึงขั้นสูงหรอก แค่ปรับเบสิคพื้นฐานในการละกิเลสหยาบ ๆ แค่นี้เอาให้ได้ก่อน ถ้ากิเลสหยาบ ๆ แค่นี้ยังละไม่ได้โยมไม่มีทางยกระดับจิตขั้นสูงได้ เพราะจิตมันจะไม่มีกำลังในการเกิดปัญญาในการดันกิเลสตัวละเอียดให้หลุด

    โยม : เหมือนง่ายแต่ยากครับ

    ว่ายทวนน้ำ : ใหม่ ๆ ต้องฝืนทุกคน แต่ถ้าโยมกล้าหักดิบกับความคิดโยมจะไปได้เร็ว ถ้าโยมทำได้จิตมันจะเบาโล่งสบาย สงบ ไม่วุ่นวาย ไม่ดิ้นรนกวัดแกว่ง มันจะไม่ค่อยเกิดอารมณ์ต่าง ๆ ขึ้นมา ถ้ามีอารมณ์ขึ้นมาก็จะดับลงได้เร็ว เพราะกิเลสตัวหยาบมันถูกขจัดออกไปเรื่อย ๆ จิตจะมีกำลังของมันเอง

    "การเพิ่มกำลังให้แก่จิตในการเกิดปัญญาในการดันกิเลสให้หลุดนั้นมีที่มาจากการ 'ละกิเลส' " ขอให้โยมจับหลักนี้ไว้ให้ดี ยิ่งละกิเลสได้มากเท่าไหร่ จิตยิ่งยกระดับมากเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับกำลังฌาน การทำฌานได้สูงเป็นคนละเรื่องกับการยกระดับจิต ดังนั้น อย่าดูว่าใครนั่งสมาธิหรือเดินจงกรมเก่ง ให้ดูว่าใครหยุดบ้า หยุดยึด หยุดหลง หยุดดิ้นรน หยุดแสวงหาได้มากกว่ากัน ที่ต้องพูดตรงนี้เพราะคนส่วนใหญ่เข้าใจผิดกันเยอะมาก เขาไปเข้าใจว่าการนั่งสมาธิเดินจงกรมคือหนทางแห่งการพ้นทุกข์ เลยพากันไปนั่งสมาธิเดินจงกรมแต่กลับไม่ยอมละกิเลส ไม่ปรับปรุงแก้ไขข้อเสียของตนเอง ทุกวันนี้คนเลยนั่งสมาธิแบบฌาน แต่โลภ โกรธ หลง ยังอยู่ครบเหมือนเดิม มันยังไม่ถูกถอดถอนออก ยังไม่หยุดคิด แค่ถูกกดความคิดไว้เท่านั้น

    ขอให้จับหลักให้ดีว่า การยกระดับจิตขึ้นอยู่กับการปรับปรุงแก้ไขตัวเองให้เลิกบ้า เลิกยึด เลิกหลงกับสิ่งนั้นสิ่งนี้ไปเรื่อย ๆ ละกิเลสหรือหยุดคิดได้มากเท่าไหร่จิตจะยกระดับได้มากเท่านั้น ให้วัดกันตรงนี้ อย่าเอาการนั่งสมาธิหรือเดินจงกรมมาใช้เป็นตัววัดในการยกระดับจิตเพราะมันเป็นเพียงเครื่องกดอารมณ์ของผู้ปล่อยวางไม่ได้เท่านั้น

    โยม : ขอพระอาจารย์เปรียบเทียบให้ฟังหน่อยได้ไหมครับ?

    ว่ายทวนน้ำ : สมมติตัวละครเป็นโยมกับฉันก็แล้วกัน ฉันพิจารณาทุกข์โทษของการกินที่เกินจำเป็น จนฉันเห็นโทษของมันแล้ว หลังจากนั้นก็เลยกินข้าวเพียงเท่าที่จำเป็นเท่านั้น เช่น อาจจะกินแค่มื้อเดียว ส่วนโยมยังกินข้าวหลายมื้ออยู่ โยมหวังจะกินข้าวมื้อเดียวบ้างแต่ยังปล่อยวางความคิดในเรื่องนี้ไม่ได้ พอโยมหิวโยมเลยต้องนั่งสมาธิเพื่อกดอารมณ์กดเวทนาความหิวไว้กดไปกดมาจนนิ่งได้ฌาน ถามว่าคนไหนคือคนที่หยุดคิดในเรื่องกินที่เกินจำเป็นได้?

    โยม : พระอาจารย์ครับ

    ว่ายทวนน้ำ : ใช่ เพราะความคิดในเรื่องการกินที่เกินจำเป็นมันดับไปแล้ว มันถูกเช็คบิลไปแล้ว มื้อต่อไปไม่ว่าเห็นอาหารน่ากินแค่ไหน มีประโยชน์แค่ไหนก็จะไม่กินอีก ไม่มีข้ออ้างใด ๆ ทั้งสิ้น แต่โยมยังหยุดคิดไม่ได้เลยต้องนั่งสมาธิกดอารมณ์กดเวทนาไว้กดจนนิ่งได้ฌาน แต่ฌานไม่ใช่ตัววัดผลของการยกระดับจิต การยกระดับจิตมันวัดกันที่ใครหยุดคิดในเรื่องต่าง ๆ ได้มากกว่ากัน คนที่หยุดคิดในเรื่องใดได้ก็คือคนที่ปล่อยวางในเรื่องนั้นได้แล้ว ละกิเลสละความคิดในเรื่องนั้นได้แล้ว เขาไม่จำเป็นต้องใช้สมถะมากดอารมณ์อีกต่อไป แต่สำหรับผู้ที่หยุดคิดไม่ได้ก็เลยต้องใช้สมถะมากดอารมณ์ สมถะเป็นเพียงการหยุดคิดเพียงชั่วคราวแต่เรื่องนั้นยังไม่ถูกถอดถอนออกหรือยังไม่สามารถหยุดคิดอย่างถาวรได้นั่นเอง

    การนั่งสมาธิหรือการเดินจงกรมนั้นจึงไม่ใช่หนทางแห่งการพ้นทุกข์ แต่เป็นแค่เครื่องอยู่เพื่อกดอารมณ์กดความคิดไว้เท่านั้น ที่ต้องกดก็เพราะยังหยุดคิดไม่ได้ การหยุดคิดต่างหากที่เป็นหนทางแห่งการพ้นทุกข์ที่แท้จริง ซึ่งบางครั้งก็ต้องใช้ความคิดในการพิจารณาหาทุกข์หาโทษเพื่อมาหยุดคิดเหมือนกัน พอหยุดคิดในเรื่องใดได้ก็ว่างจากเรื่องนั้น หยุดคิดได้หมดก็จบกัน นี่แหละคือ "การภาวนา" คือการทิ้งสิ่งที่ยึดที่อยากที่หลง ปรับปรุงแก้ไขข้อเสียของตัวเองไปเรื่อย ๆ จนความคิดในเรื่องนั้นเรื่องนี้ดับลง ๆ คงเหลือเพียงแค่ความคิดในการการกระทำสิ่งต่าง ๆ เท่าที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตอยู่ได้เท่านั้น ในแต่ละวันให้ใช้ความคิดต่อสิ่งต่าง ๆ ต่อเรื่องต่าง ๆ ให้น้อยที่สุด ซึ่งถ้าอยู่ทางโลกจะทำยากเพราะภาระหน้าที่หลายอย่างมันบีบบังคับให้หยุดคิดในเรื่องต่าง ๆ ไม่ได้ ถ้าออกจากสังคมได้ เช่น ออกมาบวชจะเอื้อต่อการหยุดคิดได้มากกว่า เพราะภาระหน้าที่ต่าง ๆ ทางโลกมันไม่มี เท่ากับว่าเราก็ไม่มีการใช้ความคิดกับเรื่อง ๆ นั้นไปโดยอัตโนมัติ ทีนี้เมื่อถึงเวลาจิตลงล็อกหลังจากที่หยุดคิดในเรื่องนั้นเรื่องนี้มากขึ้นเรื่อย ๆ มันก็จะเกิดปัญญามีกำลังในการดันกิเลสตัวหยาบตัวละเอียดให้หลุดออกกลายเป็นการบรรลุธรรมขึ้นมา

    (ติดตามเรื่อง "ความสำคัญของครูบาอาจารย์ได้ที่ https://www.facebook.com/realbuddha/photos/a.121486964714717.1073741828.121467414716672/404587309738013/?type=3&theater )
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,719
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,138
    ค่าพลัง:
    +70,534
    หลวงพ่อเยื้อน ขันติพฺโล เมตตากล่าวถึง"จิตหลวงปู่ดูลย์ อตุโล"




    ที่มา https://www.youtube.com/@Dhammasatoo
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,719
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,138
    ค่าพลัง:
    +70,534
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...