"พึงเป็นผู้ทำจิตให้ยิ่ง" " .. "การที่จะทำจิตให้ยิ่งได้" ต้องเป็นผู้สงบระงับ "อิจฉา โลภ สมาปนุโน สมโณ กึ ภวิสฺสติ" เมื่อประกอบด้วยความอยากดิ้นรนโลภหลงอยู่แล้ว จักเป็นผู้สงบระงับได้อย่างไร ต้องเป็นผู้ปฏิบัติ "คือปฏิบัติพระวินัยเป็นเบื้องต้นและเจริญกรรมฐาน ตั้งต้นการจงกรม" นั่งสมาธิ ทำให้มาก เจริญให้มาก "ในการพิจารณามหาสติปัฏฐาน" มีกายานปัสสนาสติปัฏฐานเป็นเบื้องแรก พึงพิจารณา "ส่วนแห่งร่างกายโดยอาการแห่งบริกรรมสวนะ" คือ "พิจารณาโดยอาการคาดคะเนว่าส่วนนั่นเป็นอย่างนั่น ด้วยการมีสติสัมปชัญญะไปเสียก่อน" เพราะเมื่อพิจารณาเข่นนี้ "ใจไม่ห่างจากกาย ทำให้รวมง่าย" เมื่อเจริญและทำให้มากในบริกรรมสวนะแล้ว จักเกิดขึ้น "ซึ่งอุคคหนิมิตให้ชำนาญในที่นั่นจนเป็นปฏิภาค ชำนาญในปฏิภาคโดยยิ่งแล้ว จักเป็นวิปัสสนา" เจริญวิปัสสนาจนเป็น"วิปัสสนาอย่าง อุกฤษฏ์ ทำจิตเข้าถึง ฐีติภูตํ" ดังกล่าวแล้วในอุบายแห่งวิปัสสนา ชื่อว่าปฏิบัติ เมือปฏิบัติแล้ว "โมกขํ จึงจะข้ามพ้น" เพราะอาศัย ข้อปฏิบัติอันคนทำเต็มที่แล้วจึงข้ามพ้น คือพ้นจากโลกอันชื่อว่า "โลกตตรธรรม เขมํ" จึงเกษมจากโยคะ (เครื่องร้อน) ฉะนั้น เนื้อความใน "มัฌมเทศนาจึงสำคัญเพราะเล็งถึงวิมุติธรรม" ด้วยประการฉะนี้แล .. " "มุติโตทัย" (หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)