เรื่องเด่น การดูแลสุขภาพของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระสาวก

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 24 มกราคม 2018.

  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,124
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    images?q=tbn:ANd9GcSa1CJtIYEip-eekQHRIe7qDFhbggtQJca00_QjVUPq-5ysfOfB.jpg

    11111.jpg

    พระไตรปิฏกหลายแห่งระบุว่า พระพุทธเจ้าเป็นผู้มีสุขภาพดี มีพระชนมายุแปดสิบพรรษา สามารถทำงานเผยแผ่ศาสนาประมาณ 16-20 ชั่วโมงต่อ วัน
    ใครๆที่รู้จักพระองค์ก็มักจะกล่าวสรรเสริฐหรือถามถึงพระองค์ถึงเรื่องความมีอาพาธน้อย มีพระโรคเบาบาง ทรงพระกำลังกระปรี้กระเปร่าประทับอยู่สำราญอยู่เสมอๆ


    ดังที่พระองค์ได้ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายในบางแห่งว่า "เวทนาเหล่าใด มีดีเป็นสมมุติฐานก็ดี มีเสมหะเป็นสมมุติฐานก็ดี มีลมเป็นมามุติฐานก็ดี เกิดแต่ฤดูแปรปรวน
    ก็ดี เกิดแต่การบริหารไม่สมำเสมอก็ดี เกิดแต่บาดเจ็บก็ดี เกิดแต่ผลกรรมก็ดี เวทนาเหล่านั้นไม่เกิดแก่เรามากนัก เราเป็นผู้มีอาพาธน้อย "
    แม้ว่าพระองค์จะทรงมีสุขภาพดีแต่บางครั้งที่พระวรกายอ่อนเพลียจาการตรากตรำสั่งสอนพุทธบริษัท ก็ทรงพระประชวรเหมือนกับคนทั่วไปเพียงแต่พระหฤทัย
    ของพระองค์ยังปรกติเข็มแข็งผ่องใส เมื่อพระองค์ทรงพระประชวรก็ได้ใช้วิธีการรักษาหลายอย่างตามสมควรแก่โอกาส


    พระโอสถแก้ประชวรของพระพุทธเจ้า
    คราวหนึ่งพระพุทธองค์เสด็จไปยังกรุงราชคฤห์ประทับอยู่ที่เวฬุวนารามพระองค์ประชวรด้วยโรคลมที่เกิดในพระอุทร เมื่อพระอานนท์พุทธอุปัฏฐากได้ทราบ
    จึงดำริว่า เมื่อพระพุทธองค์ประชวรแบบนี้ในครั้งก่อนเคยเสวยยาคูปรุงด้วยของสามอย่าง คือ
    งา
    ข้าวสาร
    และถั่วเขียว



    จึงได้ปรุงยาคูสูตรนั้นถวายพระพุทธองค์อีก เมื่อเสวยแล้วไม่นานก็ทรงหายจากอาการประชวรและทรงพระสำราญ
    เมื่อพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่เชตวนาราม เมืองสาวัตถี ประชวรด้วยโรคลม คราวนั้นพระอุปัฏฐากได้จัดการต้มน้ำร้อนให้พระพุทธองค์สรงสนาน


    และละลายน้ำอ้อยด้วยน้ำร้อนพระพุทธองค์เสวยแล้วก็ทรงหายจากอาการประชวรนั้น
    บางครั้งพระผู้มีพระภาคทรงทราบด้วยพระองค์เองว่า พระวรกายของพระองค์ หมักหมมด้วยสิ่งอันเป็นโทษ ปรารถนาที่จะเสวยพระโอสถถ่าย


    จึงตรัสให้พระอานนท์ไปเชิญหมอชีวกโกมารภัจจ์ แพทย์ประจำพระพุทธองค์และประจำสำนักราชวังแห่งพระเจ้าพิมพิสารเพื่อให้ปรุงยาถวาย

    หมอชีวกจึงบอกให้พระอานนท์ทำพระวรกายของพระพุทธเจ้าให้ชุ่มชื่นเป็นเวลาสามวัน เพื่อเตรียมการถ่ายสิ่งหมักหมมอันเป็นโทษครั้งใหญ่เมื่อพระอานนท์ได้ดำเนิน

    การทำให้พระวรกายของพระพุทธเจ้าชุ่มชื่นตามที่หมอชีวกปรารถแล้วก็ได้แจ้งให้หมอชีวกได้ทราบความตามประสงค์
    ฝ่านหมอชีวกพิจารณา การที่จะถวายพระโอสถถ่ายแก่พระผู้มีพระภาคไม่เหมาะ จึงได้เตรียมยาที่ปราณีตด้วยการอบก้านอุบลด้วยยาต่างๆตาทว่ามา


    ให้พระองค์สูดก้านอุบลก้านที่หนึ่ง แล้วยาจะออกฤทธ์ ทำให้พระองค์ถ่ายถึงสิบครั้ง ครั้นสูบก้านอุบลอบยาต่างๆอีกสองก้าน ก็ถ่ายอีกก้านละ สิบ ครั้ง
    รวมทั้งสิ้นพระองค์จะถ่ายถึงสามสิบครั้ง


    ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ปฏิบัติพระองค์ตามที่หมอชีวกสั่ง ด้วยการเตรียมการและการพระยาบาลของพระอานนท์อย่างใกล้ชิด
    พระองค์ก็ถ่ายตามกำหนด หมกชีวกได้มาเยี่ยมและถวายคำแนะนำว่า พระองค์ไม่ควรเสวยพระกระยาหารที่ปรุงด้วยน้ำต้มผักต่างๆจนกว่าพระวรกาย


    จะปรกติ ต่อมาไม่นานนัก เมื่อพระผู้มีพีะภาคเจ้าได้ปฏิบัติตามคำแนะนำของหมอชีวก กายก็เป็นปรกติ กระปรี้ กระเปร่า ทรงพระสำราญเหมือนเดิม

    OOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOO

    ธรรมโอสถที่พระสารีบุตรประทานแก่ผู้ป่วย

    เมื่ออนาถปิณฑิกเศรษฐี ป่วยหนักก่อนเสียชีวิต พระสารีบุตรและพระอานนท์ไปเยี่ยม
    พระสารีบุตรได้ถามอาการป่วยกับอนาถปิณฑฺกเศรษฐีว่า


    " ดูกรคฤหบดี ท่านพอทน พอเป็นไปได้หรือ ทุกขเวทนาทุเลา ไม่กำเริบ ปรากฏ
    ความทุเลาเป็นที่สุด ไม่ปรากฏความกำเริบละหรือ "


    อนาถปิณฑิกเศรษฐี เล่าอาการไข้ให้พระสารีบุตรฟังว่า " ข้าแต่พระสารีบุตรลมเหลือ
    ประมาณกระทบกระหม่อมของกระผมอยู่ เหมือนบุรุษมีกำลังเอาของแหลมทิ่ม
    กระหม่อม..ลมเหลือประมาณเวียนศรีษะกระผมอยู่เหมือนบุรุษมีกำลังให้การขันศรี
    ษะด้วยชะเนาะมั่น...ลมเหลือประมาณปั่นป่วนท้องของกระผมอยู่ เหมือนคนฆ่าโคผู้
    ฉลาดเอามีดอันคมแล่โคคว้านท้อง...ความร้อนในกายกระผมเหลือประมาณ เหมือน
    บุรุษมีกำลัง สอง คนจับบุรุษมีกำลังน้อยกว่าที่อวัยวะป้องกันตัวต่างๆแล้ว นาบย่าง ใน
    หลุมถ่านเพลิง...กระผมทนไม่ไหว เป็นไปไม่ไหว ทุกขเวทนาของกระผมหนัก


    กำเริบไม่ทุเลา ปรากฏความกำเริบเป็นที่สุด ไม่ปรากฏความทุเลาเลย"
    เมื่อพระสารีบุตร ได้ฟังอาการป่วยหนักของอนาถปิณฑฺกเศรษฐีแล้ว ท่านได้แสดงธรรม
    ให้ฟัง เนื้อหาแห่งธรรมเทศนาโดยย่อมีดังนี้


    " ดูกรคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นจักษุ และ
    วิญญาณที่อาศัยจักษุ...เราจะไม่ยึดมั่นโสตะและวิญญาณที่อาศัยโสตะ...เราจะไม่
    ยึดมั่นฆานะและวิญญาณที่อาศัยฆานะ...เราจักไม่ยึดมั่นในซิวหาและวิญญาณที่
    อาศัยซิวหา...เราจักไม่ยึดมั่นกายและวิญญาณที่อาศัยกาย...เราจะไม่ยึดมั่นมโน
    และวิญญาาณที่อาศัยมโน..... "


    " ดูกรคฤหบดี ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจะไม่ยึดมั่นในโลกนี้ และวิญญาณที่
    อาศัยโลกนี้ เราจักไม่ยึดมั่นโลกหน้า และวิญญาณที่อาศัยโลกหน้า "
    " ดูกกรคฤหบดี ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า อารมณ์ที่เราได้เห็น ได้ฟัง ได้ทราบ ได้รู้
    แจ้ง ได้แสวงหา ได้พิจารณาด้วยใจแล้ว เราจักไม่ยึดมั่นอารมณ์นั้น และวิญญาณที่
    อาศัยอารมณ์นั้นจักไม่มีแก่เรา "


    " ดูกรคฤหบดี ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้เถิด "

    เมื่อพระสารีบุตรแสดงธรรมจบแล้วอนาถปิณฑิกเศรษฐีร้องให้น้ำตาไหล พระอานนท์
    ซึ่งนั่งอยู่ในที่นั้นได้ถามว่า " ดูกรคฤหบดี ท่านยังอาลัยใจ จดจ่ออยู่หรือ "


    ท่านอนาถปิณฑฺกเศรษฐีตอบว่า " ข้าแต่พระอานนท์ผู้เจริญ กระผมมิได้อาลัย มิได้มี
    ใจจดจ่อ แต่กระผมได้นั่งใกล้พระศาสดาและหมู่ภิกษุที่น่าเจริญใจมานานแล้ว ไม่เคยได้
    สดับธรรมกถาเห็นปานนี้เลย"


    พระอานนท์กล่าวว่า"ดูกรคฤหบดี ธรรมกถาเห็นปานนี้ มิได้แจ่มแจ้งแก่คฤหัสถ์ผู้นุ่ง
    ผ้าขาว แต่แจ่มแจ้งในบรรพชิต "


    อนาถปิณฑิกเศรษฐีกล่าวว่า " ข้าแต่พระสารีบุตรผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้นขอธรรมีกถา
    เห็นปานนี้จงแจ่มแจ้งคฤหัสถ์ผู้นุ่งผ้าขาวบ้างเถิด เพราะมีกุลบุตรผู้เกิดมามีกิเลสในดวง
    ตาน้อยจะเสื่อมคลายจากธรรม จะเป็นผู้เสื่อมคลายจากธรรม จะเป็นผู้ไม่รู้ธรรมเพราะไม่
    ได้สดับ "


    เมื่อพระอานนท์และพระสารีบุตรได้แสดงธรรมแก่อนาถปิณฑิกเศรษฐีแล้วก็กลับเชตวตวนาราม
    ฝ่านอนาถปิณฑิกเศรษฐีครั้นฟังธรรมแล้ว พอท่านพระเถระทั้งสองกลับไปไม่นาน
    เศรษฐีก็เสียชีวิต ไปเกิดเป็นเทพบุตรแล้วกลับมาถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า
    แล้วกล่าวว่า


    " พระเชตวันนี้มีประโยชน์อันสงฆ์ผู้แสวงบุญแล้วอยู่อาศัย อันพระองค์ผู้
    เป็นธรรมราชาประทับเป็นที่เกิดปิติแก่ข้าพระองค์สัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ด้วยธรรม
    ห้า


    ประการ คือ กรรม วิชชา ธรรม ศีล ชีวิตอันอุดม ไม่ใช่บริสุทธิ์ด้วยโคตรหรือด้วยทรัพย์
    เพราะฉะนั้นแล บุคคลผู้เป็นบัณฑิต เมื่อเล็งเห็นประโยชน์ของตน พึงเลือกเฟ้นธรรม
    โดยแยบคาย จะบริสุทธิ์ในธรรมนั้น ด้วยอาการอย่างนี้ พระสารีบุตรย่อมบริสุทธิ์ด้วย
    ปัญญาด้วยศีล และด้วยความสงบ ความจริงภิกษุผู้ถึงฝั่งแล้ว เป็นผู้ยอดเยี่ยมคือพระสารี
    บุตรนี้"


    อนาถปิณฑิกเทพบุตรรกล่าวอย่างนี้แล้วพระศาสดาทรงพอพระทัยเมื่อทราบว่าพระ
    ศาสดาก้แสดงความเคารพด้วยการกระทำประทักษิณแล้วก็หายตัวไป ณ ที่นั้น.
    เรื่องพระสารีบุตรและพระอานนท์ไปเยียมไข้อนาถปิณฑิกเศรษฐีให้แง่คิดในด้านธรรมะ
    ที่เป็นแก่นพุทธศาสนาอันว่าด้วยความไม่ยึดมั่นถือมั่นอย่างละเอียด สภาพจิตของผู้ฟัง
    ธรรมขณะที่ป่วยหนักใกล้ตาย


    แนวความคิดเรื่องชีวิตหลังความตายของผู้มีจิตใจบริสุทธฺ์ ความจำเป็นที่คฤหัสถ์ที่ผ้ค
    ครองเรือนจะต้องให้ความสนใจศึกษาธรรมะที่ลึกซึ่ง พระภิกษุก็ต้องตั้งใจให็ธรรมะที่เป็น
    แก่นลึกซึ้งโดยไม่คิดว่า ธรรมะที่ลึกซึ้งชั้นดับทุกข์จะมีความจำเป็นแก่ผู้ที่เป็นบรรพชิต
    เท่านั้น แต่สำหรับฆราวาสที่ครองเรือนก็มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ธรรมะมาดับทุกข์ได้ด้วย.
    ธรรมะทั้งหมดนี้ชี้ชัดว่า เมื่อไม่ยึดมั่นถือมั่นในทุกสิ่ง ความรู้สึกที่ใช้คำว่าวิญญาณ อัน
    ได้แก่


    สำคัญมั่นหมายแห่งความเป็นสัตว์บุคคล ตัวตนของเรา เขา ที่อาศัยสิ่งเหล่านั้นเกิดกไม่มี
    เมื่อดับเหตุได้ ผลก็ไม่ปรากฏ ตรงตามหลักอริยธรรมที่ว่า
    ธรรมเหล่าใดเกิดเพราะเหตุ ธรรมเหล่านั้นดับไปเพราะเหตุดับ
    พระธรรมเทศนาของพระสารีบุตรอาจจะตั้งชื่อว่าอุปาทาน ดับวิญญาณก็คงจะเหมาะสม
    เพราะเมื่อ อุปาทาน ดับทุกครั้ง
    วิญญาณก็ดับทุกครั้ง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 25 มกราคม 2018

แชร์หน้านี้

Loading...