หากจะพิจารณาถึงความสำคัญของพระพุทธรูปว่า ว่าวัตถุเช่นนี้มีความสำคัญอย่างไร เหตุใดจึงต้องสร้างและดูแลกันอย่างดีตลอดเวลากว่า 2,000 ปี ก็จะเห็นความสำคัญได้ดังนี้ 1.เป็นสิ่งแทนสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธรูปจะสร้างด้วย หิน ดิน ทราย หรือวัสดุอย่างใดๆ ก็ตามเมื่อเป็นรูปพระพุทธรูปขึ้นมาแล้ว ผู้คนก็พากันเคารพนับถือกราบไหว้โดยมิได้นึกถึงความเป็นวัสดุนั้นต่อไปอีก เพราะทั้งผู้สร้างและผู้พบเห็นต่างมีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกันว่าจะให้เป็นรูปพระพุทธเจ้า พระพุทธรูปจึงเป็นสื่อความหมายให้ผู้คนได้คิดถึงพระพุทธเจ้าได้ดีที่สุด พระพุทธรูปจึงเป็นสิ่งแทนพระพุทธเจ้าได้ดีที่สุด 2.เป็นสิ่งอนุสรณ์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในบรรดาสิ่งที่ชาวพุทธกำหนดขึ้นเป็นสิ่งระลึกถึงพระพุทธเจ้า เช่น พระสถูปเจดีย์ พระแท่นใต้ต้นศรีมหาโพธิ์ รอยพระพุทธบาท หรือแผ่นจารึกหัวข้อพุทธธรรม เมื่อเกิดพระพุทธรูปขึ้นมาแล้วปรากฏว่าพระพุทธรูปเป็นสิ่งอนุสรณ์ถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ดี และชัดเจนกว่าสิ่งใดๆ จึงมีการสร้างพระพุทธรูปเป็นพุทธสาวรีย์ที่ใดมีพระพุทธรูปชาวพุทธก็ปฏิบัติต่อรูปนั้นเสมือนว่าพระพุทธองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ เมื่อผู้คนพบเห็นก็จะระลึกถึงพระพุทธเจ้าได้โดยทันที 3.เป็นเครื่องหมายของพุทธศาสนา ในบรรดาสิ่งที่ชาวพุทธกำหนดขึ้นเป็นเครื่องหมายของพุทธศาสนา เพื่อสื่อความหมายที่เป็นนามธรรมโดยให้เป็นรูปธรรมเพื่อให้เข้าใจพุทธปรัชญา และคุณลักษณะของพระพุทธศาสนา ปรากฏว่า พระพุทธรูปเป็นเครื่องหมายของพุทธศาสนาได้ดีที่สุด โดยรูปลักษณ์ของพระพุทธรูป โดยทั่วไปจะแสดงความสงบ ความเมตตา ความหลุดพ้นจากกิเลสตัณหา ได้อย่างชัดเจน เมื่อปรากฏพระพุทธรูปขึ้น ณ ที่ใดก็รู้ว่าป็นที่ของพุทธศาสนาเมื่อปรากฏผู้คนกราบไหว้บูชาก็รู้ว่าเป็นชาวพุทธ พระพุทธรูปจึงเป็นเครื่องหมายของพุทธศาสนาได้ดีกว่าเครื่องหมายใด 4.เป็นสัญลักษณ์ของความดี ตั้งแต่มีการสร้างพระพุทธรูปขึ้นในโลกกว่า 2,000 ปีแล้วล้วนแต่มีผู้ใช้พระพุทธรูปไปในทางความดีงานสถานที่หรือกิจกรรมใดที่มีพระพุทธรูปเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยก็กลายเป็นสถานที่หรือกิจกรรมที่ดีงาม เช่นทางโค้งที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง เมื่อนำพระพุทธรูปเข้าไปประดิษฐานก็เกิดความระมัดระวัง ทำให้ลดอุบัติเหตุได้ เมื่อใดที่ผู้คนมีความทุกข์ ทั้งกายและใจ เมื่อได้เพ่งดูพระพุทธรูป ความทุกข์เร่าร้อนก็จะลดลง พระพุทธรูปจึงเป็นเครื่องหมายของการดับทุกข์ ดับปัญหา เป็นสิ่งที่มีคุณค่าทางจิตใจคนในด้านความดีงา 5.เป็นสิ่งประกอบในศาสนาพิธี การปฏิบัติศาสนาพิธีใดๆ ของชาวพุทธย่อมจะต้องมีพระพุทธรูปเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยเสมอเพียงแต่การสวดมนต์ไหว้พระ หรือนิมนต์พระมาเจริญพระพุทธมนต์ ถวายพระตาหารเช้า เพล รวมไปถึงราชพิธี และรัฐพิธีที่มีพิธีทางศาสนาเข้าไปเกี่ยวข้องก็จะต้องมีพระพุทธรูปอยู่ด้วยทั้งพระสงฆ์และชาวบ้านต่งปฎิบัติต่อพระพุทธรูปประหนึ่งว่าประปฏิบัติแก่พระพุทธเจ้า ทำนองเดียวกับการเซ่นไหว้ของศาสนาอื่น ทั้งที่พระพุทธเจ้านิพพานไปแล้ว ไม่รับการเซ่นสรวงเช่นเดียวกับเทวดา หรือทูตผีทั่วไป 6.เป็นทางแห่งการทำบุญกุศลของชาวพุทธ การปฏิบัติความดี หรือบุญกุศลไม่ว่าศาสนาใดๆ ก็คือ เชิดชูศาสนธรรม อุปถัมภ์บำรุงศาสนาบุคคลและบำรุงดูแลศาสนวัตถุ การสร้างและการทำนุบำรุงวัตถุสถานในศาสนา จึงเป็นหน้าที่ของศาสนิกชนของทุกศาสนา พระพุทธรูปเป็นวัตถุที่มีความสำคัญสูงสุดในพุทธศาสนาเพราะเป็นสิ่งแทนพระพุทธเจ้า จึงป็นทางแห่งการประกอบบุญกุศล โดยอาศัยพระพุทธเจ้าเป็นที่ตั้ง เช่นการกราบไหว้บูชา เพื่อน้อมนำไปสู่การศึกษาและปฏิบัติธรรม การสร้างพระ การปิดทองพระ การบูรณะซ่อมแซม ถือเป็นกุศลหลักทางพุทธศาสนา เรียกว่า บุญกิรกยาวัตถุ คือวัตถุที่ควรเกี่ยวข้องเพราะเป็นทางแห่งการปฏิบัติความดีได้ทางหนึ่ง 7.เป็นที่สถิตของพุทธภาวะตามความเชื่อของฝ่ายมหายาน ชาวพุทธฝ่ายมหายานเชื่อว่าพระพุทธเจ้ามีอยู่มากมายหลายองค์ ต่างองค์ต่างมีบารมีหรืออำนาจลี้ลับเช่นเดียวกับเทพเจ้าในศาสนาฮินดู เมื่อสร้างพระพุทธรูปขึ้นแล้ว อำนาจนั้นจะสถิตอยู่ในองค์พระพุทธรูป แล้วจะสามารถบนบานบวงสรวงแบ่งอำนาจลี้ลับนั้นไปใช้ เพื่อประโยชน์ทางวัตถุ คือ สนองกิเลศตัณหาของมนุษย์ได้ ความเชื่อเช่นนี้ ทำให้เกิดพระศักดิ์สิทธิ์ในยุคที่มีชาวพุทธมีความเสื่อมทรามทางปัญญา ไม่เข้าใจสัจธรรม ไม่สามารถพึ่งธรรมต่อไปได้ก็จะแสวงหาที่พึ่งอื่นใดเช่นเดียวกับศาสนาเทวนิยม จนกลายเป็นทางแสวงหาผลประโยชน์จากคนโง่งมงาย เกิดเกจิอาจารย์ เกิดพิธีพุทธาภิเษก เกิดกระบวนการหลอกลวงทุกรูปแบบจนกลายเป็นสวนทางกับพุทธธรรมในพุทธศาสนาที่สอนให้คนฉลาด รู้จักเหตุผลให้พึ่งธรรมและพึ่งตนเอง 8.เป็นศิลปวัตถุของสังคม พระพุทธรูป นอกจากจะมีลักษณะอื่นใดแล้วจะต้องมีความงดงามถูกตาถูกใจคนเพราะช่างผู้จะต้องตั้งใจถ่ายทอดสุนทรียรส คือความประสานกลมกลืนของรูปร่าง ทรวดทรงสัดส่วน เส้น สี ผิว และลวดลาย การจัดวางตำแหน่ง ลักษณะท่าทางให้สามารถสื่อความคิดแก่ผู้พบเห็น หรือกราบไหว้บูชาได้ เป็นการใส่ชีวิตและวิญญาณ แหล่งที่มา :โลกสันติธรรม
พระพุทธรูป คือ ๑ ใน พุทธเจดีย์ ๔ อย่าง พุทธเจดีย์ เจดีย์ ที่สร้างขึ้นมาในพระพุทธศาสนา มีไว้เพื่อระลึกถึงพระรัตนตรัยทั้งสิ้น สามารถแบ่งได้ เป็น ๔ ประเภท นั่นคือ ๑. พระธาตุเจดีย์ คือ เจดีย์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ หรือ พระธาตุ เช่น พระธาตุพนม พระธาตุดอยสุเทพ บรมบรรพต(ภูเขาทอง) ฯลฯ ๒. พระธรรมเจดีย์ มีผู้สันนิษฐานว่าเกิดขึ้นจากการที่ทรงมีพุทธดำรัสก่อนพุทธปรินิพพานว่า พระธรรมวินัยจักเป็นศาสดาแทนพระองค์ จึงเกิดมีการคิดจารึกพระธรรมลงบนวัตถุแล้วนำมาบูชาแทนพระธรรม เช่น พระไตรปิฎก หนังสือธรรมะ ฯลฯ ๓. บริโภคเจดีย์ คือ สถานที่หรือสิ่งของทั้งหมดที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้า เช่น สังเวชนียสถานทั้งสี่ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ พุทธบริขาร รอยพระพุทธบาท ฯลฯ ] ๔. อุเทสิกเจดีย์ คือสิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงพระรัตนตรัย โดยไม่มีการกำหนดรูปแบบอย่างชัดเจน เช่น พระพุทธรูป พระผง พระเครื่อง พระพุทธบาท(จำลอง) ฯลฯ ทั้งนี้ รวมถึงพระบรมสารีริกธาตุ และ พระธาตุจำลองด้วย http://www.relicsofbuddha.com/page4.htm#01